เกี่ยวกับสภาประชาชนลุ่มน้ำอิง

header 10x2.5 boonroung

1) ความเป็นมา

          “สภาประชาชนลุ่มน้ำอิง” เป็นการรวมตัวกันของชุมชนในลุ่มน้ำอิงตั้งแต่พื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำในจ.พะเยาและเชียงรายตลอดความยาวกว่า 260 กิโลเมตรก่อนไหลลงสู่แม่น้ำโขง   โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 ภายใต้แนวคิดเรื่องการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการคิด วางแผน และจัดการ เพื่อเป็นกลไกภาคประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในลุ่มน้ำอิงทั้งดิน น้ำ ป่า พื้นที่ชุ่มน้ำ สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า ให้ก่อเกิดประโยชน์แก่คนท้องถิ่นอย่างยั่งยืน เท่าเทียม และเป็นธรรม 

          วีดีโอ "ประวัติศาสตร์-นิเวศวัฒนธรรมลุ่มน้ำอิง และการก่อเกิดสภาประชาชนลุ่มน้ำอิง" 

          แผ่นพับ "จากต้นสายถึงปลายน้ำ : ยุทธศาสตร์การพัฒนาลุ่มน้ำอิงอย่างยั่งยืน" 

2) วัตถุประสงค์

1. เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำอิง
2. อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรลุ่มน้ำอิง ทั้งสัตว์น้ำ ป่าชุ่มน้ำ และทรัพยากรอื่นๆ 
3. สร้างรูปธรรมในการจัดการระบบนิเวศแม่น้ำอิง
4. ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนจากฐานทรัพยากรท้องถิ่น

3) ยุทธศาสตร์

3.1) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนากลไกและสถาบันท้องถิ่น (สภาประชาชนลุ่มน้ำอิง)

     1. การพัฒนาศักยภาพแกนนำและสมาชิก (โครงสร้าง/กรรมการ/คนรุ่นใหม่)
     2. การขยายเครือข่าย (ภายใน/ภายนอก)
     3. การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ และงานวิจัยท้องถิ่น
     4. การรณรงค์เชิงนโยบาย
     5. การเชื่อมประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
     6. การสร้างและการพัฒนาพื้นที่รูปธรรมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
     7. การพัฒนาผู้ประกอบการทางสังคม / วิสาหกิจชุมชน
     8. การระดมทุน
     9. การประชาสัมพันธ์ และการสื่อสารสาธารณะ (สื่อชุมชน/นักข่าวน้ำอิง)
     10. การจัดสวัสดิการ และการพัฒนาเป็นนิติบุคคล

3.2) ยุทธศาสตร์ด้านการจัดการลุ่มน้ำอิงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

     3.2.1) ยุทธศาสตร์ด้านฐานทรัพยากรธรรมชาติ 5 ประเด็น คือ การจัดการน้ำ การจัดการป่าต้นน้ำ การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ การอนุรักษ์และฟื้นฟูพันธุ์สัตว์น้ำ และการจัดการที่ดิน

    3.2.2) ยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจชุมชนบนฐานทรัพยากรธรรมชาติ

    3.3.3) ยุทธศาสตร์ด้านสังคม

4) กิจกรรมของสภาฯ

5) โครงสร้างและบทบาทหน้าที่ของสภาฯ 

6) องค์กรภาคี และองค์กรสนับสนุนการดำเนินงาน

        6.1) องค์กรภาคี (กองเลขาของสภาฯ)   1) ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (RECOFTC) 2) สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต 3) สถาบันชุมชนลุ่มน้ำโขง 4) เครือข่ายลุ่มน้ำภาคเหนือ 5) กลุ่มรักษ์เชียงของ 6) สถาบันปวงพญาพยาว 7) พะเยาทีวีชุมชน 

           6.2) องค์กรภาคีความร่วมมืออื่นๆ  1) สถาบันความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นและอาเซียน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย (BELAD)  2)  มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย  3) มหาวิทยาลัยพะเยา  4มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา  5) เทศบาลตำบลสันมะค่า  6) สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงราย  7) สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพะเยา  8สํานักงานประมงจังหวัดเชียงราย  9สํานักงานประมงจังหวัดะเยา  10ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพะเยา

        6.3) องค์กรสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงาน

           สหภาพยุโรป (EU) logo EU    Critical Ecology Partnership Fund (CEPF) logo cepf   Syncronicity Earth (SE) logo SE

 วีดีโอ "รู้จักสภาฯ"

 

วีดีโออื่นๆที่เกี่ยวข้อง

 สนับสนุนการทำเว็บไซท์ โดย สหภาพยุโรป (EU) logo EU

 

Go to top