พื้นที่ชุ่มน้ำและป่าชุ่มน้ำ

          พื้นที่ชุ่มน้ำ หมายถึง ที่ลุ่ม ที่ราบลุ่ม ที่ชื้นแฉะ พรุ แหล่งนํ้า ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่มีนํ้าขังหรือนํ้าท่วมอยู่ถาวร และชั่วครั้งชั่วคราว ทั้งที่เป็นแหล่งนํ้านิ่งและนํ้าไหล ทั้งที่เป็นนํ้าจืด นํ้ากร่อย และ นํ้าเค็ม รวมไปถึงชายฝั่งทะเล และที่ในทะเลในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดลงต่ำสุดมีความลึกของระดับน้ำไม่เกิน 6 เมตร

          ตลอดความยาว 260 กม.ของแม่น้ำอิง พบพื้นที่ชุ่มน้ำน้อยใหญ่มากมาย เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่ได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำระดับนานาชาติ ได้แก่ กว๊านพะเยา หนองเล็งทราย และพื้นที่ชุ่มน้ำในระดับท้องถิ่นประมาณ 400 แห่ง

IMG 3474          "ป่าฮิมอิง" (ป่าริมอิง) พบมากตลอดลำน้ำอิงตอนล่าง เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำประเภท "ป่าชุ่มน้ำ" ที่มีน้ำท่วมขะงบางฤดูกาล (seasonal-flooded forest) ซึ่งจะมีน้ำท่วมถึง เป็นระบบนิเวศที่มีความสำคัญต่อทั้งสัตว์น้ำ สัตวบก นก แมลง และพรรณพืชนานาชนิด   ป่าชนิดนี้จะมีพืชเด่นที่สามารถอยู่ในน้ำท่วมหลากได้เป็นเวลานาน เช่น ต้นชุมแสง มะเคาะ ข่อย พืชเถาวัลย์ และพืชเฉพาะถิ่น ต้นไม้และพรรณพืชในพื้นที่มีการปรับตัวต่อสภาพน้ำท่วมและทนต่อน้ำขังได้ยาวนาน ช่วงน้ำลดป่าชุ่มน้ำเต็มไปด้วยระบบนิเวศย่อย กระจายอยู่ในพื้นที่ป่าและมีพืชหลายชนิดทั้งที่เป็นพืชสมุนไพรและพืชผักกินได้     ป่าชุ่มน้ำมีความสำคัญต่อสัตว์น้ำเพราะฤดูน้ำหลากจะเป็นที่วางไข่ หากิน และอนุบาลตัวอ่อนของสัตว์น้ำจากแม่น้ำโขงและแม่น้ำอิง    แหล่งน้ำในป่ายังเป็นแหล่งหากินสำคัญของนกอพยพ เช่น นกเป็ดน้ำ และมันยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลายชนิด เช่น นาก เสือปลา แมวดาว รวมทั้งสัตว์เลื้อยคลานต่างๆ 

          "ป่าฮิมอิง" มีความสำคัญอย่างมากต่อชีวิตของชุมชนท้องถิ่นเพราะเป็นแหล่งอาหารและรายได้สำคัญ รวมทั้งเกี่ยวข้องกับความเชื่อและวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วย 

>> ป่าชุ่มน้ำบ้านบุญเรือง กับ เขตเศรษฐกิจพิเศษ

>> ป่าและพื้นที่ชุ่มน้ำบ้านม่วงชุม

  1. ป่าชุ่มน้ำบ้านม่วงชุม โดย เทศบาลตำบลครึ่ง
  2. รายงาน "ชุมชนบ้านม่วงชุม ต.ครึ่ง อ.เชียงของ จ.เชียงราย" โดย มูลนิธิสถาบันลูกโลกสีเขียว
  3. รายงานการศึกษา "โครงสร้าง ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ สภาพการทดแทนตามธรรมชาติ และปริมาณการเก็บกักคาร์บอนในพื้นที่ป่าชุ่มน้ำ บ้านม่วงชุม หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย" โดย ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (RECOFTC) และภาคี ปีที่ผลิต 2560
  4. บริหารจัดการอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก และระบบกระจายน้ำบริหารจัดการอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก และระบบกระจายน้ำ โดย มูลนิธิอุทกพัฒน์ 
  5. ข้อมูลบริบทชุมชนบ้านม่วงชุม โดย RECOFTC

 

>> ป่าและพื้นที่ชุ่มน้ำบ้านทุ่งงิ้ว

  1. รายงาน "พืชอาหารและพืชสมุนไพรในป่าชุ่มน้ำบ้านทุ่งงิ้ว" โดย ชาวบ้านทุ่งงิ้วและสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต 2563
  2. รายงาน "เครื่องมือหาปลาและสัตว์น้ำที่ใช้ในป่าชุ่มน้ำและบริเวณโดยรอบ ของหมู่บ้านทุ่งงิ้ว ม.2 อ.เชียงของ จ.เชียงราย"  โดย สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต  2562 
  3. รายงานการศึกษา "โครงสร้าง ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ สภาพการทดแทนตามธรรมชาติและปริมาณการเก็บกักคาร์บอนในพื้นที่ป่าชุ่มน้ำ บ้านทุ่งงิ้ว ม. 2 ต.สถาน อ.เชียงของ จ.เชียงราย" โดย ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (RECOFTC) และภาคี ปีที่ผลิต 2561
  4. รายงาน "การสำรวจความหลากหลายของสัตว์ในกลุ่ม สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ปีก สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ในพื้นป่าชุมชนบ้านทุ่งงิ้ว ต.สถาน อ.เชียงของ จ.เชียงราย" โดย ชุมชนบ้านทุ่งงิ้ว และภาคี 2559

 

>> ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

  1. รายงานการศึกษา "สถานภาพป่าชุ่มน้ำในลุ่มน้ำอิงตอนล่าง" โดย สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต ปี 2563 
  2. รายงานการศึกษา "โครงสร้าง ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ สภาพการทดแทนตามธรรมชาติ และปริมาณการเก็บกักคาร์บอนในพื้นที่ป่าชุ่มน้ำ บ้านห้วยสัก หมู่ 9 และ หมู่ 15 ตำบลยางฮอม อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย" โดย สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต และภาคี ปี 2563
  3. รายงานการศึกษา "โครงสร้าง ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ สภาพการทดแทนตามธรรมชาติ และปริมาณการเก็บกักคาร์บอนในพื้นที่ป่าชุ่มน้ำ บ้านเกษตรสมบูรณ์ หมู่ที่ 19 และ บ้านห้วยซ้อหมู่ 2 ตำบลห้วยซ้อ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย" โดย สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต และภาคี ปี 2563
  4. รายงานการศึกษา "โครงสร้าง ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ สภาพการทดแทนตามธรรมชาติ และปริมาณการเก็บกักคาร์บอนในพื้นที่ป่าชุ่มน้ำ หมู่บ้านป่าข่า หมู่ที่ 8 ตำบลป่าตาล อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย" โดย สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต และภาคี ปี 2563
  5. รายงานการศึกษา "โครงสร้าง ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ สภาพการทดแทนตามธรรมชาติ และปริมาณการเก็บกักคาร์บอนในพื้นที่ป่าชุ่มนํ้า หมู่บ้านป่าบง หมู่ที่ 1 ตำบลยางฮอม อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย" โดย ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (RECOFTC) และภาคี ปี 2561
  6. รายงานการศึกษา "โครงสร้าง ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ สภาพการทดแทนตามธรรมชาติ และปริมาณการเก็บกักคาร์บอนในพื้นที่ป่าชุ่มน้ำ บ้านทุ่งศรีเกิด หมู่ที่ 3 ตาบลยางฮอม อาเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย" โดย ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (RECOFTC) และภาคี ปี 2561 
  7. รายงานการศึกษา "โครงสร้าง ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ สภาพการทดแทนตามธรรมชาติ และปริมาณการเก็บกักคาร์บอนในพื้นที่ป่าชุ่มน้ำ บ้านซาววา หมู่ที่ 3 ตำบลบุญเรือง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย" โดย ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (RECOFTC) และภาคี ปี 2560 
  8. รายงานการศึกษา "โครงสร้าง ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ สภาพการทดแทนตามธรรมชาติ และปริมาณการเก็บกักคาร์บอนในพื้นที่ป่าชุ่มน้ำ หมู่บ้านต้า หมู่ที่ 10 ตาบลต้า อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย" โดย สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต และภาคี ปี 2559
  9. ตารางรายชื่อนกในพื้นที่ชุ่มน้ำในลุ่มน้ำอิงตอนล่าง จากการสำรวจความหลากหลายของนก เมื่อ 1-2 พย.61 โดย สมาคมดูนกแห่งประเทศไทย ภายใต้โครงการอนุรักษ์แม่น้ำอิง 
  10. แผ่นพับ "พื้นที่ชุ่มน้ำลุ่มน้ำอิง" หน้าที่ 1  และ หน้าที่ 2 โดยสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต
  11. หนังสือ "ป่าชุ่มน้ำในลุ่มน้ำอิงตอนล่างและการจัดการโดยชุมชนท้องถิ่น"  โดย สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต ปีที่ผลิต 2560
  12. วีดีโอ "ป่าชุ่มน้ำในลุ่มน้ำอิงตอนล่างและการจัดการโดยชุมชน" โดย สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต ปีที่ผลิต 2560 
  13. โปสเตอร์ "พืชอาหารและสมุนไพรในป่าชุมน้ำบ้านงามเมือง" งานวิจัยจาวบ้าน โดย ชาวบ้านงามเมือง สถาบันชุมชนลุ่มน้ำโขง ปีที่ผลิต 2558
  14. โปสเตอร์ "พืชอาหารและสมุนไพรในป่าชุ่มน้ำบ้านบุญเรือง" งานวิจัยจาวบ้าน โดย นักวิจัยชาวบ้านบ้านบุญเรือง และ สถาบันชุมชนลุ่มน้ำโขง  ปีที่ผลิต 2558
  15. โปสเตอร์ "นิเวศวัฒนธรรมด้านอาหาร" โดย สถาบันชุมชนลุ่มน้ำโขง  ปีที่ผลิต 2558
  16. โปสเตอร์ "ปลากับความมั่นคงด้านอาหาร" โดย สถาบันชุมชนลุ่มน้ำโขง  ปีที่ผลิต 2558

 

 wetland forest1    wetland forest2    wetland forest3    wetland forest4

 

>> อัลบั้มรูป: ป่าชุ่มน้ำบ้านบุญเรือง ภาพโดย พิชเญศพงษ์ คุรุปรัชญามรรค

 

Go to top