ทรัพยากรน้ำ

IMG 3473          แม่น้ำอิงเป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำโขง มีต้นกำเนิดมาจากดอยหลวงในจังหวัดพะเยา มีลำห้วยสายหลัก 12 สายจากเทือกเขาดอยหลวงไหลสู่กว๊านพะเยา และไหลออกจากประตูน้ำกว๊านเป็นลำน้ำอิงไหลย้อนขึ้นทางทิศเหนือลงสู่แม่น้ำโขงที่บ้านปากอิงใต้ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย รวมระยะทาง 260 กิโลเมตร เป็นแม่น้ำสายหลักของจังหวัดพะเยาและจังหวัดเชียงราย ลุ่มน้ำมีพื้นที่ทั้งหมด 7,238 ตารางกิโลเมตร

ข้อมูลลุ่มน้ำ

  1. ข้อมูลลุ่มน้ำอิงตอนบน ลุ่มน้ำอิงตอนกลาง ลุ่มน้ำอิงตอนล่าง ลุ่มน้ำพุง และลุ่มน้ำแม่ลาว
  2. แผนที่ลุ่มน้ำอิงตอนบน
  3. แผนที่ลุ่มน้ำอิงตอนกลาง
  4. แผนที่ลุ่มน้ำอิงตอนล่าง
  5. แผนที่ลุ่มน้ำแม่พุง
  6. แผนที่ลุ่มน้ำแม่ลาว 

คุณภาพน้ำ

          ผลจากการตรวจคุณภาพแหล่งน้ำผิวดินโดยสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 2 ลำปาง ปี 2559 พบว่า กว๊านพะเยาและแม่น้ำอิงอยู่ในเกณฑ์ “เสื่อมโทรม” เปรียบเทียบกับมาตรฐานคุณภาพน้ำจัดเป็นแหล่งน้ำประเภทที่ 4 ได้แก่ แหล่งน้ำที่ได้รับน้ำทิ้งจากกิจกรรมบางประเภทสามารถใช้ประโยชน์เพื่อการอุปโภคและบริโภคโดยต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติและผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำทั่วไปก่อน และเพื่อการอุตสาหกรรม

          กว๊านพะเยามีค่าความสกปรกในรูปอินทรีย์สาร (BOD) ร้อยละ 58.62 การปนเปื้อนของแอมโมเนีย (NH3) ร้อยละ 41.38 โดยช่วงบริเวณที่ติดกับชุมชนที่หนาแน่นคุณภาพน้ำเสื่อมโทรมมากเกือบตลอดทั้งปี เนื่องมาจากปริมาณน้ำในกว๊านพะเยามีน้อย และมีการปล่อยน้ำทิ้งลงสู่แหล่งน้ำโดยไม่ผ่านการบำบัด ส่วนบริเวณอื่นคุณภาพน้ำอยู่ในช่วงเสื่อมโทรมถึงเสื่อมโทรมมาก ซึ่งพบปัญหาในช่วงที่มปริมาณน้ำน้อย ทำให้น้ำไม่หมุนเวียนเกิดการเน่าเสียและการทับถมของซากพืชที่อยู่ในแหล่งน้ำ

          แม่น้ำอิงมีค่าความสกปรกในรูปอินทรีย์สาร (BOD) ร้อยละ 40 การปนเปื้อนของแอมโมเนีย (NH3) ร้อยละ 40 มีการปนเปื้อนของฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย (FCB) ร้อยละ 20 โดยเฉพาะบริเวณที่มีปริมาณน้ำน้อยหรือไม่มีน้ำไหลในช่วงฤดูแล่ง และไหลฝ่านพื้นที่เกษตรกรรมและเขตชุมชน คุณภาพน้ำอยู่ในช่วงพอใช้ถึงเสื่อมโทรมมาก

ข้อมูลอื่นๆ

 

Go to top