สถานการณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อมในลุ่มน้ำอิง

ปัญหาเชิงประเด็น

 

ปัญหาเชิงนโยบาย

header boonroung1. นโยบายพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ที่ผ่านมาได้เสนอเอาพื้นที่ชุ่มน้ำริมแม่น้ำอิงใน ต.บุญเรือง และต.สถาน เป็นพื้นที่รองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ โดยพื้นที่สาธารณะที่ถูกนำเสนอเหล่านี้เป็นป่าชุมชนแบบป่าชุ่มน้ำที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ วิถีชีวิต และวัฒนธรรมของคนในลุ่มน้ำอิงและโขง 

2. นโยบายและแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ที่ผ่านมาโครงการพัฒนาทั้งของรัฐและเอกชนได้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศแหล่งน้ำและการบริหารจัดการน้ำรวมถึงกลไกการบริหารการจัดการน้ำที่ยังไม่มีการประสานงานที่มีประสิทธิภาพ

3. นโยบายส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ เช่น พืชเชิงเดี่ยว การปลูกกล้วยหอมเขียว การเข้ามาลงทุนปลูกและทำการค้ากล้วยหอมของกลุ่มทุนจีนในพื้นที่ลุ่มน้ำอิงซึ่งมีพื้นที่กว่า 2,750 ไร่ และมีแนวโน้มการขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นซึ่งคนในลุ่มน้ำอิงมีข้อกังวลเรื่องสารเคมีที่ใช้ในสวนกล้วยปริมาณมากจะส่งผลต่อระบบนิเวศและคนในลุ่มน้ำ รวมถึงการแย่งน้ำจากการใช้น้ำปริมาณมากในการดูแลสวนกล้วย

4. สถานการณ์ภัยแล้งในช่วงฤดูแล้ง ปริมาณน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำอิงมีปริมาณไม่เพียงพอต่อการทำเกษตรของคนในพื้นที่ รวมทั้งน้ำประปาในเขตเมืองพะเยา อีกทั้งกลไกการบริหารการเตรียมความพร้อมรับมือภัยแล้งก็ยังไม่มีการประสานงานที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อความขัดแย้งเรื่องการใช้น้ำของคนในลุ่มน้ำอิง 

5. นโยบายการเพิ่มพื้นที่ป่า พื้นที่ป่าในลุ่มน้ำอิงบางส่วนมีการจัดเตรียมพื้นที่เพื่อประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งส่งผลกระทบต่อชุมชนที่อยู่อาศัยและพึ่งพิงป่าเหล่านั้นมาอย่างช้านาน การเข้าถึงข้อมูลและการมีส่วนร่วมในการกำหนดหลักเกณฑ์ของการเตรียมพื้นที่เพื่อประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติดังกล่าว จะสามารถช่วยให้ชุมชนสามารถมีส่วนในการตัดสินใจและเตรียมความพร้อมได้

 

Go to top