ยุทธศาสตร์ลุ่มน้ำอิง และข้อเสนอเชิงนโยบาย

แผ่นพับ "จากต้นสายถึงปลายน้ำ : ยุทธศาสตร์การพัฒนาลุ่มน้ำอิงอย่างยั่งยืน"

1) ยุทธศาสตร์ลุ่มน้ำอิง

1.1) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนากลไกและสถาบันท้องถิ่น (สภาประชาชนลุ่มน้ำอิง)

     1. การพัฒนาศักยภาพแกนนำและสมาชิก (โครงสร้าง/กรรมการ/คนรุ่นใหม่)
     2. การขยายเครือข่าย (ภายใน/ภายนอก)
     3. การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ และงานวิจัยท้องถิ่น
     4. การรณรงค์เชิงนโยบาย 
     5. การเชื่อมประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
     6. การสร้างและการพัฒนาพื้นที่รูปธรรมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ 
     7. การพัฒนาผู้ประกอบการทางสังคม / วิสาหกิจชุมชน
     8. การระดมทุน
     9. การประชาสัมพันธ์ และการสื่อสารสาธารณะ (สื่อชุมชน/นักข่าวน้ำอิง)
     10. การจัดสวัสดิการ และการพัฒนาเป็นนิติบุคคล

IMG 34951.2) ยุทธศาสตร์ด้านการจัดการลุ่มน้ำอิงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

     1.2.1) ยุทธศาสตร์ด้านฐานทรัพยากรธรรมชาติ 5 ประเด็น คือ การจัดการน้ำ การจัดการป่าต้นน้ำ การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำการอนุรักษ์และฟื้นฟูพันธุ์สัตว์น้ำ และการจัดการที่ดิน

     1.2.2) ยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจชุมชนบนฐานทรัพยากรธรรมชาติ

     1.3.3) ยุทธศาสตร์ด้านสังคม

2) ข้อเสนอเชิงนโยบาย 6 ด้าน จากเวที : เวทีประชาสังคมเพื่อทรัพยากรลุ่มน้ำอิง 22 มีนาคม 2560

  • ห้อง 1 “แม่หญิงกับทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำอิง” 

  • ห้อง 2 “ป่าชุมชนกับความยั่งยืนโดยท้องถิ่น” 

  • ห้อง 3 “ความรู้เรื่องป่าชุ่มน้ำในลุ่มน้ำอิงและแนวทางการจัดการ” 

  • ห้อง 4 “แนวทางการจัดการน้ำและสัตว์กน้ำอย่างมีส่วนร่วม”

  • ห้อง 5 “ข้อบัญญัติท้องถิ่นกับทรัพยากรบ้านตนเอง”

  • ห้อง 6 “บทบาทของสื่อชุมชนเพื่อท้องถิ่น”

3) ข้อเสนอร่วม ในเวที่เสวนาวิชาการ “บทบาทองค์กรประชาชนและภาคประชาสังคมในการจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำ เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG)” วันที่ 10 พ.ย. 60 ณ ห้อง 301 ชั้น  อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร

  1. แผนแม่บทและยุทธศาสตร์ (การจัดการดิน น้ำ ป่า เศรษฐกิจ สังคม) ที่มาจากข้างล่างและอย่างมีส่วนร่วม
  2. จัดทำ (ยกระดับ) ฐานข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ เพื่อประโยชน์ การจัดการ ติดตาม ประเมินผล
  3. กลไกการประสานงาน (ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน)
  4. การจัดการร่วม (ประชาชน ประชาสังคม รัฐ) (แผนการจัดการลุ่มน้ำอย่างมีส่วนร่วม) (การจัดการป่าร่วม)
  5. สร้างพื้นที่ (ยกระดับ) รูปธรรมในการจัดการทรัพยากร การยกระดับพื้นที่ชุ่มน้ำเป็นแรมซ่าร์ไซส์
  6. การฟื้นฟูลุ่มน้ำควรสร้างแรงจูงใจให้คนปลูกไม้ ปลูกป่า สามารถใช้ประโยชน์จากไม้ที่ปลูกได้อย่างยั่งยืน
  7. ควรส่งเสริมภาคผลิตที่ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

Go to top